วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กะทกรกหรือเสาวรส (Passion Fruit)



กระทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.; ชื่อภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower) ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ประโยชน์ทางด้านอาหาร ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม





กระทกรก / เสาวรส (Passion Fruit)
กระทกรก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เสาวรสเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินเอ สูง ทั้งยังช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเส้นเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเสาวรสนั้นมีวิตามินซี สูง คือ ๓๙.๑ มก./๑๐๐ มก. ซึ่งมีมากกว่ามะนาวเสียอีก






เสาวรสหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กระทกรกฝรั่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Passion Fruit เป็นไม้ผลที่อยู่ในตระกูล Passifloraceae เสาวรสมี 2 ชนิดคือชนิดผลสีม่วง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passifloraedulis และผลสีเหลืองที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. edulis F. flavicarpa
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสเป็นผลไม้อุตสาหกรรมคือปลูกเพื่อนำผลผลิตไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เนื่องจากในผลมีน้ำมาก รสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมแต่ก็สามารถรับประทานผลสดได้ โดยเฉพาะบางพันธุ์ที่ผลมีรสชาติค่อนข้างหวาน สำหรับในประเทศไทยนั้นได้นำเสาวรสเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดยเป็นพันธุ์สีม่วง ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาปลูกอีกในอีกหลายพื้นที่ทั้งพันธุ์ผลสีม่วงและผลสีเหลือง จนกระทั่งได้มีการปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปแต่ก็ปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปเท่านั้น โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ ระยอง ตราด ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ชุมพร นราธิวาสและสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่จำหน่ายเพื่อบริโภคสดนั้นไม่ใช่พันธุ์สำหรับรับประทานผลสดโดยตรง แต่เป็นการคัดเอาผลผลิตเสาวรสพันธุ์สำหรับแปรรูปบางพันธุ์ที่มีรสชาติค่อนข้างดี เช่น พันธุ์ผลสีม่วงมาจำหน่ายเป็นเสาวรสรับประทานสดแทน
ที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มูลนิธิโครงการหลวงและกรมวิชาการเกษตร ได้มีการพยายามวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับประทานสดโดยเฉพาะ เนื่องจากผลผลิตเสาวรสสำหรับรับประทานสดมีราคาสูงกว่าเสาวรสสำหรับแปรรูปมาก ในส่วนของมูลนิธิโครงการหลวงนั้นได้มีการวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับรับประทานสดมานานแล้วโดยได้นำเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลียและไต้หวัน มาปลูกทดสอบในสถานีต่าง ๆ ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ, อินทนนท์, ห้วยลึก และแม่ลาน้อย เป็นต้น แต่ในระยะแรกยังไม่มีพันธุ์ไดที่มีลักษณะครบถ้วนตามที่ต้องการคือ ผลผลิตมีรสชาติดีซึ่งต้องค่อนข้างหวาน ขนาดผลใหญ่ให้ผลผลิตสูงและปลูกง่าย เนื่องจากพบว่าเสาวรสพันธุ์สำหรับรับประทานสดส่วนใหญ่ที่รสชาติดี แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กให้ผลผลิตต่ำและค่อนข้างอ่อนแอ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงประสบความสำเร็จคัดเลือกได้เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มีลักษณะตามต้องการ 2 สายพันธุ์ โดยคัดเลือกจากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน และได้นำออกส่งเสริมในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งพบว่าผลผลิตเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคมาก ทำให้ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและต้องเร่งขยายการส่งเสริมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในอนาคตอันใกล้เสาวรสรับประทานสดจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสที่ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของฟื้นที่สูงในอเมริกาได้เป็นไม้ประเภทเลื้อยมีอายุหลายปีลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แต่เสาวรสบางพันธุ์คือพันธุ์ผลสีเหลืองส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ดอกเสาวรสจะเกิดที่ข้อบริเวณโคนก้านใบของเถาใหม่พร้อมกับการเจริญของเถา โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชำจะสามารถออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น
ผลเสาวรสเป็นผลเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70 วันหลังติดผล มีหลายลักษณะ เช่น กลม รูปไข่ หรือผลรียาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลและเนื้อส่วนนอกแข็งไม่สามารถรับประทานได้ผลมี 2 สีคือผลสีม่วงและผลสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำเป็นจำนวนมากแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยรกซึ่งบรรจุน้ำสีเหลืองมีลักษณะเหนียวข้นอยู่ภายใน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีความเป็นกรดสูง และส่วนที่นำไปใช้บริโภคก็คือส่วนที่เป็นน้ำสีเหลืองนี้เอง

ชนิดและพันธุ์เสาวรส
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)
เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล
2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)
ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก
เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง

พันธุ์เสาวรสรับประทานสด
เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มูลนิธิโครงการหลวง คัดเลือกได้และส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์คือเสาวรสรับประทานสดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์สีม่วงทั้ง 2 พันธุ์ โดยคัดเลือกได้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์ไต้เหวัน

1. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1
ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง เมื่อตัดขวางผลจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลประมาณ 70-80 กรัมต่อผลรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix

2. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพันธุ์เบอร์ 1 แต่สีผลจะเข้มและมีคุณภาพดีกว่าพันธ์เบอร์ 1 คือ รสชาติหวานและน้ำหนักต่อผลสูงกว่า โดยผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-100 กรัมต่อผล ความหวานเฉลี่ยที่ประมาณ 17-18 Brix พันธุ์นี้เปลือกหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน
ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้เน้นให้เกษตรกรที่ปลูกเสาวรสใช้พันธุ์รับประทานเบอร์ 2 สำหรับปลูกเป็นการค้าเนื่องจากลักษณะเด่นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับพันธุ์ที่ใช้แปรรูปทั้งสีม่วงและสีเหลืองก็สามารถปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้แต่ราคาของผลผลิตจะต่ำกว่าตามคุณภาพของผลผลิต

การขยายพันธุ์เสาวรส
วิธีการขยายพันธุ์
การปลูกเสาวรสรับประทานสดจะแตกต่างจากเสาวรสโรงงานที่ปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพราะเมล็ด คือ ต้องรักษาให้เผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์เดิม ดังนั้นการปลูกจึงจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่ได้จากการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การเพาะเมล็ดสำหรับทำต้นตอ
ต้นตอที่ใช้ควรเป็นเสาวรสโรงงานชนิดพันธุ์สีเหลือง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานตอโรงแมลงได้ดี และเมล็ดที่จะนำมาเพราะควรคัดจากผลและต้นแม่ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคไวรัส นำมาล้างเอารกที่หุ้มเมล็ดออก นำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นานเกินไปเพราะจะทำให้ความงอกลดลง
การเพาะเมล็ดสามารถทำได้ทั้งในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกและตะกร้าหรือในแปลงเพาะกล้าโดยวัสดุเพาะใช้ดิน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว ผสมกันในสัดส่วน 2:1:1:1 ใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้หน้าประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า ปกติเมล็ดที่เพาะจะงอกภายใน 7-10 วัน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 1 ใบ ซึ่งอายุประมาณ 15-20 วันหลังเพาะจึงย้ายลงถุงปลูกขนาด 2.5 x 6 นิ้ว หรือแปลงปลูก ถ้าเป็นฤดูฝนหรือสามารถให้น้ำได้ทั้งนี้ขึ้นกับว้าจะเปลี่ยนยอกดเป็นพันธุ์ดีในเรือนเพาะชำหรือในแปลงปลูก ในระหว่างการเพาะกล้านั้นต้องมีการพ่นยาป้องกันกำจัดมดที่จะทำลายเมล็ดและแมลงที่เป็นเพาหะของโรคไวรัส เช่น เพลี้ยไฟและไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นกล้าปลอดจากโรคไวรัสและต้องให้ปุ๋ยช่วยเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยอาจจะให้ปุ๋ยทางใบหรือใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมน้ำรด หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 2-3 เดือน จึงสามารถเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีดได้

2. การเปลี่ยนยอดพันธุ์
เสาวรสเป็นพืชที่สามารถเปลี่ยนยอดได้ง่ายและทำได้ทุกฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ 2 แบบคือ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ต้นกล้าในถุงก่อนนำไปปลูกและการนำต้นตอไปปลูกในแปลงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนพันธุ์ภายหลัง
2.1 การเปลี่ยนยอดต้นกล้าที่ปลูกในถุง
การเปลี่ยนยอดแบบนี้มีข้อดีคือทำได้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เนื่องจากทำได้ในพื้นที่จำกัดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสม่ำเสมอกันไปปลูก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นจึงเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนยอดนิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม (Cleft grafting) ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ
2.1.1 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน
การเปลี่ยนยอดแบบนี้งานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการติดโรคไวรัสของต้นกล้า ปรับปรุงคุณภาพของต้นกล้าให้แข็งแรงสมบูรณ์สม่ำเสมอมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเลี้ยงต้นกล้าในถุงปลูกให้สั้นลง เพื่อให้ระบบรากไม่เสียและให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องไม่ชะงัดการเจริญเติบโตหลังการเปลี่ยนยอด
ต้นตอที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดคืออายุ 1.5-2 เดือน หลังเพาะซึ่งจะมีใบประมาณ 5-7 ใบและต้นยังอ่อนอยู่ ทำการเตรียมแผลของต้นตอโดยตัดยอดให้เหลือใบ 3-4 ใบ ผ่าต้นตอลึก 1.5-2.0 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์ที่เป็นปลายยอดอ่อน ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบ 2-3 ใบ มาปาดเป็นรูปลิ่มความยาวเท่ากับแผลของต้นตอ จากนั้นนำมาเสียบลงบนต้นตอผูกด้วยเชือกฟาง ยางยืดหรือใช้ตัวหนีบ เสร็จแล้วนำต้นใส่ไว้ในกระโจมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ยอดเหี่ยว หลังจากนั้น 7 วัน ยอดพันธุ์ดีจะติดสามารถนำออกจากกระโจมและเลี้ยงให้แข็งแรงอีก 20-30 วันก่อนนำไปปลูก
2.1.2 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ตาข้าง
การเปลี่ยนพันธุ์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน แต่ต้นตอที่ใช้จะต้องมีอายุมากกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้ต้นตอมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดีที่ใช้ โดยตัดเถาให้มีตาข้าง 2 ตาและตัดใบออกให้เหลือครึ่งใบ ในกรณีที่ไม่มีกระโจมการเปลี่ยนยอดแบบนี้สามารถใช้ถุงครอบยอดเป็นต้นๆ ได้ หรือใส่ในกระโจมขนาดใหญ่ได้ เพราะไม่ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอมากนัก
2.2 การเปลี่ยนยอดพันธุ์ในแปลงปลูก
วิธีการนี้จะทำหลังจากที่นำต้นตอลงไปปลูกในแปลงแล้ว ซึ่งมีข้อเสียคือยากแก่การเปลี่ยนพันธุ์และดูแลรักษาเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน เพราะสามารถปลูกต้นตอซึ่งมีความแข็งแรงกว่าต้นที่เปลี่ยนพันธุ์ลงไปก่อนในช่วงปลายฤดูฝนแล้วจึงทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง
การเปลี่ยนยอดสามารถทำได้ตั้งแต่หลังปลูกต้นตอไปแล้วประมาณ 1 เดือนจนกระทั่งเถาเจริญถึงค้างแล้ว โดยวิธีการเสียบลิ่ม (Cleft grafting) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพันธุ์ในถุงปลูก แต่กิ่งพันธุ์ที่นั้นจะเอาใบออกทั้งหมดและต้องคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและหุ้มด้วยกระดาษป้องกันความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้โดยวิธีการเสียบข้าง (Side grafting) ได้ หลังการเปลี่ยนยอดให้รักษาใบของต้นตอไว้แต่ต้องหมั่นปลิดยอดที่จะแตกจากตาข้างของต้นตอออก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับยอดพันธุ์ดี

การวางแผนการขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า
การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าเสาวรสนั้นต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องการปลูก ฤดูกาลและนิสัยการเจริญเติบโตของเสาวรสโดยเฉพาะระยะเวลาให้ผลผลิต การวางแผนที่ถูกต้องจะทำให้เสาวรสให้ผลผลิตอย่างเต็มที่และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยที่สุด โดยต้องวางแผนผลิตต้นกล้าให้มีอายุเหมาะสมพอดีเมื่อถึงเวลาปลูกที่ได้กำหนดไว้ว่าเหมาะสมสำหรับรูปแบบการปลูกต่างๆ เช่นปลูกแบบให้น้ำหรือการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน การผลิตต้นกล้าเร็วเกินไปจะทำให้ต้องเลี้ยงต้นไว้ในถุงนานจะมีปัญหาระบบรากไม่ดีและต้นทุนการดูแลเพิ่มขึ้น การผลิตต้องล้าช้าก็จะทำให้ต้นกล้าไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอเพียงกับระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม

การปลูกเสาวรสรับประทานสด
เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น
การผลิตและการตลาดเสาวรส
เนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงวิจัยได้และส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ผลิต ปัจจุบันจึงมีผลผลิตจากมูลนิธิโครงการหลวงเท่านั้นที่ออกสู่ตลาด โดยมีผลผลิตส่งจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541/2542(ส.ค.2541-ก.พ.2542) จำนวน 3,905.5 กิโลกรัม ปีพ.ศ.254/2543(มี.ค.2545-ก.พ.2543) จำนวน 7,012 กิโลกรัมและในปี พ.ศ.2543/2544 (มี.ค.2543-ก.พ.2544) จำนวน 37,925 กิโลกรัม แต่พบว่าปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากผลผลิตเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทำให้ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเพิ่มการผลิต ในขณะที่ราคาผลผลิตอยู่ในระดับที่ดีคือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 10-12 บาท ซึ่งสูงกว่าเสาวรสโรงงานถึง 3-4 เท่า
จากสภาพดังกล่าวจึงคาดว่าเสาวรสรับประทานสดมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งได้ ทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำ แต่ทั้งนี้การขยายการผลิตในระยะแรกคือ 2-3 ปีข้างหน้าต้องวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคาดว่าไม่ควรเกิน 200 ตันต่อไป เพื่อรักษาระดับราคาของผลผลิตไม่ให้ลดต่ำลงและเพื่อศึกษาความต้องการของตลาดในอนาคตข้างหน้าให้แน่นอนอีกครั้ง
การปลูกเสาวรสนั้นมีปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือการใช้ไม้ทำค้างดังนั้นการส่งเสริมปลูกต้องระวังไม่ให้เกิดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่ามาเพื่อใช้ทำค้าง การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ไผ่ควบคู่กับการปลูกเสาวรสจะเป็นประโยชน์มาก

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้าวโอ๊ต สมุนไพรลดความอ้วน






ข้าวโอ๊ต ( Oat ) เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูล Avena sativa ที่นิยมเพาะปลูกใน แถบยุโรปตอนเหนือ เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดี ในเขตหนาว ชาวยุโรปนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ข้าวโอ๊ต เป็นพืชที่ให้เมล็ดซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย โดยเฉพาะจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต


รำข้าวโอ๊ต ( Oat Bran ) เป็นเส้นใย Fiber ที่ได้จากการขัดสี ข้าวโอ๊ต ให้ขาว หรือ คือเส้นใยบางๆ ที่ห่อหุ้มเมล็ด ข้าวโอ๊ต นั่นเอง โดยเราพบว่า รำข้าวโอ๊ต จะให้เส้นใยอาหาร หรือ fiber 2 ชนิด คือ
1. เส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้( Soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 95-98% ของปริมาณ เส้นใยอาหารทั้งหมด ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดสารละลายที่มีลักษณะเป็นเจล โดยเมื่อรับประทานเข้าไป ไฟเบอร์นี้จะละลายในสารอาหารก่อนที่ สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นเจลของไฟเบอร์จะเกาะติดกับสารอาหาร โดยเฉพาะไขมัน ทำให้ไขมันและสารอาหารอื่นๆ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และจะเอาอาหารขับออกทางอุจจาระ จึงทำให้ลดไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดได้
2. เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ( Non-soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 2-5 % ของ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำ โดยจะดูดซับน้ำใว้กับตัวเองทำให้พองตัว เมื่อรับประทานเข้าไปจึงจะส่งผลให้ จึงทำให้ ปริมาตรของสารที่ต้องการขับถ่ายเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้เร็วขึ้น ป้องกันและรักษาปัญหาท้องผูกได้
ดังนั้นประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ผลิตจาก รำข้าวโอ๊ต จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลและไขมันในเลือด อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึง สารอาหารและวิตามินที่จำเป็นบางอย่างในอาหาร อาจ ถูกขับถ่ายออกไปด้วย
ขนาดที่รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม โดยรับประทานก่อนอาหาร 20-30 นาทีทั้ง 3 มื้อ และดื่มน้ำตามประมาณ 1-2 แก้ว ราคาที่ขายตาม ท้องตลาดหรือร้านขายยา ประมาณ 11-12 บาทต่อแคปซูล (1000 มิลลิกรัม) แพงเอาการอยู่เหมือนกันนะครับ
ข้าวโอ๊ตพบมากในประเทศแถบยุโรป เป็นไฟเบอร์ที่ช่วยลดการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และรำข้าวโอ๊ตจะเกาะติดกับไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยในการขับถ่าย ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ไม่ทำให้ท้องผูก รำข้าวโอ๊ต บรรจุอยู่ในรูปของแคปซูลราคาค่อนข้างสูง

Angkor Wat




Angkor Wat is a Hindu temple complex at Angkor, Cambodia, built for the king Suryavarman II in the early 12th century as his state temple and part of his capital city. As the best-preserved temple at the site, it is the only one to have remained a significant religious centre since its foundation — first Hindu, dedicated to the god Vishnu, then Buddhist. The temple is the epitome of the high classical style of Khmer architecture. It has become a symbol of Cambodia, appearing on its national flag, and it is the country's prime attraction for visitors.
Angkor Wat combines two basic plans of Khmer temple
architecture: the temple mountain and the later galleried temple, based on early South Indian Hindu architecture, with key features such as the Jagati. It is designed to represent Mount Meru, home of the devas in Hindu mythology: within a moat and an outer wall 3.6 kilometres (2.2 mi) long are three rectangular galleries, each raised above the next. At the centre of the temple stands a quincunx of towers. Unlike most Angkorian temples, Angkor Wat is oriented to the west; scholars are divided as to the significance of this. The temple is admired for the grandeur and harmony of the architecture, its extensive bas-reliefs and for the numerous devatas (guardian spirits) adorning its walls.
The modern name, Angkor Wat, means "City Temple"; Angkor is a vernacular form of the word nokor which comes from the Sanskrit word नगर nagara meaning capital or city.
wat is the Khmer word for temple. Prior to this time the temple was known as Preah Pisnulok, after the posthumous title of its founder, Suryavarman II

History


Angkor Wat lies 5.5 km north of the modern town of
Siem Reap, and a short distance south and slightly east of the previous capital, which was centred on the Baphuon. It is in an area of Cambodia where there is an important group of ancient structures. It is the southernmost of Angkor's main sites.
The initial design and construction of the temple took place in the first half of the 12th century, during the reign of
Suryavarman II (ruled 1113 – c. 1150). Dedicated to Vishnu, it was built as the king's state temple and part of his capital city, which itself was seventeen times bigger than Manhattan Island. As neither the foundation stela nor any contemporary inscriptions referring to the temple have been found, its original name is unknown, but it may have been known as Vrah Vishnulok after the presiding deity. Work seems to have ended shortly after the king's death, leaving some of the bas-relief decoration unfinished. In 1177, approximately 27 years after the death of Suryavarman II, Angkor was sacked by the Chams, the traditional enemies of the Khmer. Thereafter the empire was restored by a new king, Jayavarman VII, who established a new capital and state temple (Angkor Thom and the Bayon respectively) a few kilometres to the north.
In the late 13th century, King
Jayavarman VIII, who was Hindu, was deposed by his son in law, Srindravarman. Srindravarman had spent the previous 10 years in Sri Lanka becoming ordained as a Buddhist monk. Hence, the new King decided to convert the official religion of the empire from Hindu to Buddhist. Since Buddha was born and died a Hindu and since divisions between both the faiths appeared seamless, citizens were quick to follow a faith founded on tranquility without a need for material gain and power. This made the conversion relatively easy.Hence, Angkor Wat was converted from Hindu to Theravada Buddhist use, which continues to the present day. Angkor Wat is unusual among the Angkor temples in that although it was somewhat neglected after the 16th century it was never completely abandoned, its preservation being due in part to the fact that its moat also provided some protection from encroachment by the jungle.
One of the first
Western visitors to the temple was Antonio da Magdalena, a Portuguese monk who visited in 1586 and said that it "is of such extraordinary construction that it is not possible to describe it with a pen, particularly since it is like no other building in the world. It has towers and decorations and all the refinements which the human genius can conceive of".However, the temple was popularised in the West only in the mid-19th century on the publication of Henri Mouhot's travel notes. The French explorer wrote of it:
"One of these temples—a rival to that of
Solomon, and erected by some ancient Michelangelo—might take an honourable place beside our most beautiful buildings. It is grander than anything left to us by Greece or Rome, and presents a sad contrast to the state of barbarism in which the nation is now plunged.
Mouhot, like other early Western visitors, found it difficult to believe that the Khmers could have built the temple, and mistakenly dated it to around the same era as Rome. The true history of Angkor Wat was pieced together only from stylistic and
epigraphic evidence accumulated during the subsequent clearing and restoration work carried out across the whole Angkor site.
There were no ordinary dwellings or houses or other signs of settlement including cooking utensils, weapons, or items of clothing usually found at ancient sites. Instead there is the evidence of the monuments themselves.
Angkor Wat required considerable restoration in the 20th century, mainly the removal of accumulated earth and vegetation.Work was interrupted by the civil war and
Khmer Rouge control of the country during the 1970s and 1980s, but relatively little damage was done during this period other than the theft and destruction of mostly post-Angkorian statues.
The temple is a powerful symbol of Cambodia, and is a source of great national pride that has factored into Cambodia's diplomatic relations with its neighbor Thailand, France and the United States. A depiction of Angkor Wat has been a part of
Cambodian national flags since the introduction of the first version circa 1863.
The splendid artistic legacy of Angkor Wat and other Khmer monuments in the
Angkor region led directly to France adopting Cambodia as a protectorate on August 11, 1863. This quickly led to Cambodia reclaiming lands in the northwestern corner of the country that had been under Thai control since the Thai invasion of 1431 AD.Cambodia gained independence from France on 9 November 1953 and has controlled Angkor Wat since that time.
During the midst of the
Vietnam War, Chief of State Norodom Sihanouk hosted Jacqueline Kennedy in Cambodia to fulfill her "lifelong dream of seeing Angkor Wat.
In
January 2003 riots erupted in Phnom Penh when a false rumour circulated that a Thai soap opera actress had claimed that Angkor Wat belonged to Thailand.

Angkor Wat today





The
Archaeological Survey of India carried out restoration work on the temple between 1986 and 1992.Since the 1990s, Angkor Wat has seen continued conservation efforts and a massive increase in tourism. The temple is part of the Angkor World Heritage Site, established in 1992, which has provided some funding and has encouraged the Cambodian government to protect the site.The German Apsara Conservation Project (GACP) is working to protect the devatas and other bas-reliefs which decorate the temple from damage. The organization's survey found that around 20% of the devatas were in very poor condition, mainly because of natural erosion and deterioration of the stone but in part also due to earlier restoration efforts. Other work involves the repair of collapsed sections of the structure, and prevention of further collapse: the west facade of the upper level, for example, has been buttressed by scaffolding since 2002, while a Japanese team completed restoration of the north library of the outer enclosure in 2005. World Monuments Fund began work on the Churning of the Sea of Milk Gallery in 2008.
Angkor Wat has become a major tourist destination. In 2004 and 2005, government figures suggest that, respectively, 561,000 and 677,000 foreign visitors arrived in Siem Reap province, approximately 50% of all foreign tourists in Cambodia for both years. The influx of tourists has so far caused relatively little damage, other than some
graffiti; ropes and wooden steps have been introduced to protect the bas-reliefs and floors, respectively. Tourism has also provided some additional funds for maintenance—as of 2000 approximately 28% of ticket revenues across the whole Angkor site was spent on the temples—although most work is carried out by foreign government-sponsored teams rather than by the Cambodian authorities.

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่ชีเทเรซา


แม่ชีเทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 24535 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นแม่ชีในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือ และผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม สำนักวาติกัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็น "บุญราศี" ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของการเป็นนักบุญ ผ่านพิธีบุญราศีในนามว่า "บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา"
วัยเยาว์
แม่ชีเทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่เมืองสโกเปีย จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย) เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดานิโกลา (Nikola) กับมารดาเดรน (Drane Bojaxhiu) ครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายอัลเบเนีย เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด
ขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี
พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี [3]
ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว [4] แอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนในเมืองดาร์จีลิง รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง
พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา (ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และแม่ชีเทเรซา ได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937)
หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็น
ครูวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ด้วยดี
ภารกิจการกุศล
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ
ในเดือน
สิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน
ในวันที่
7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)
วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของ
ศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ
เมื่อปี
พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart)
พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้
พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย
ไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการ
รัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน
ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองได้
ไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ
ในปี
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน
คุณแม่เดินทางไปเยือน
ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่น
พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน
บั้นปลายชีวิต
พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง
การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน
พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้
เมื่อคุณแม่เห็นว่าตนคงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ในวันที่
13 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าอีกครั้ง ครั้งนี้เหล่าแม่ชีเห็นว่า คุณแม่เทเรซาควรได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านในการลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา เพื่อให้คุณแม่ได้พักรักษาตัวไม่ต้องมีภารกิจ ดังนั้นแม่ชีนิรุมาราได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าแทนคุณแม่เทเรซา
5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่
5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย
ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย
เมื่อวันที่
19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็น นักบุญราศี