วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Nay Pyi Taw, nouvelle capitale de la Birmanie


Depuis le 6 novembre 2005 , la capitale de l'Union de Birmanie n'est plus Rangoun mais Nay Pyi Taw. Cette délocalisation, a fait couler beaucoup d'encre et soulevé de no,breuses questions, tant dans le monde occidental que dans le monde asiatique. Si les raisons qui ont poussé les dirigeants à délocaliser leur administretion sont multiples, cette nouvelle capitale pose toutefoisde nombreux problèmes aux observateurs. Les autorités birmanes ont déclaré que Nay Pyi Taw avait une superficie de 7000 km. Avec près d'un million d'habitants moins de deux ans après sa création, il s'agirait d'une grande ville en pleine expansion. Mais la configuration de cette nouvelle agglomération conduit à s'interroger sur sa qualité de capitale et sur ses perspectives de développement.
BLOGAPHIE
Guy Lubeigt découvre la Birmanie en 1968, où il exerce la double fonction de directeur de l'Alliance française, avant d'être nommé, en Thaïlande, lecteur à l'Université Chulalongkorn. En 1975, il obtient un doctorat de troisième cycle en géographie tropicale (Le palmier à sucre en Birmanie centrale) de la Sorbonne, publie le Que Sais-je ? La Birmanie, et entre au CNRS. Nommé en 1981 directeur de la Mission permanente du CNRS à Rangoun, ce passionné de la Birmanie a eu le privilège d'observer sur place les événements qui agitent ce pays depuis quarante ans. En 2001, il a obtenu un doctorat d'Etat (Birmanie : un pays modelé par le Bouddhisme). Avec plus de 70 publications scientifiques àson actif, il a enseigné dans les universités Chulalongkorn, Silpakorn et Mahidol. Il continue à intervenir dans les conférences internationales.

Présenté par Monsieur GuyLubeigt,Chercheur partenaire de l'Irasec

โอเอซิส ซีเวิลด์


โอเอซิส ซีเวิลด์ ได้เปิดดำเนินการและจดทะเบียนในนาม บริษัท โอเอซีส ซีเวิลด์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2533 โดยมีจุดกำเนิดและความเป็นมาเริ่มต้นจากความสงสารและต้องการอนุรักษ์โลมา ของคุณวิชัย วัฒนพงศ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท โอเอซิส ซีเวิลด์ จำกัดจากการที่ได้พบว่ามีโลมาติดอวนของชาวประมง ในบางครั้ง แล้วนำมาชำแหละเนื้อขายในราคากิโลกรัมละ 20-30 บาท คุณวิชัยเกิดการรู้สึกสงสารและคิดที่จะช่วยอนุรักษ์โลมาไทยเหล่านี้จึงได้เริ่มศึกษาและทดลองช่วงปลายปี 2531 โดยขอซื้อโลมาที่ติดอวนของชาวประมงแต่ยังไม่ขายนำมา เลี้ยงในบ่อเลี้ยงกุ้งที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นการชั่วคราว ช่วยรักษาบาดแผลที่เกิดจากอวนและการขนส่งจนหายดี
จากการสัมผัสและดูแลอย่างใกล้ชิด พบว่า โลมาเป็นสัตว์ที่น่ารัก เลี้ยงดูง่าย เรียนรู้ได้รวดเร็วและโลมาสามารถกินอาหารจากมือผู้เลี้ยงได้ภายในระยะเวลาเพียง 20 วัน จึงได้ขยายแนวความคิดไปในรูปแบบของการขยายพันธุ์ การแสดงโชว์ ดังเช่นในต่างประเทศ
หลังจากได้ทดลองเลี้ยงโลมารุ่นแรกจำนวน 4 ตัว และได้ผลดีสามารถรักษาบาดแผลต่างๆ ที่โลมาได้รับจากทะเล และการติดอวน ควบคุมโรคและรักษาการเจ็บป่วย รวมถึงการดูแลให้อาหารที่เหมาะสมได้ จึงได้มีการรับโลมาที่บาดเจ็บและติดอวนมาเพื่อนำมารักษาและเลี้ยงดูมากขึ้น ปัจจุบันมีโลมาที่มีความสมบูรณ์เป็นพ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ จำนวนมากทั้งสองสายพันธุ์ คือพันธุ์ปากขวดสีชมพู ( Indo-Pacific Humpback Dolphin ) และพันธุ์หัวบาตร ( Irrawaddy Dolphin )





จากการเลี้ยงดูที่ดีในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม โอเอซีสฯ มีลูกโลมาเกิดขึ้นหลายตัว ซึ่งลูกโลมาทุกตัวอยู่ในสภาพสมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ถึงความสำเร็จในการเลี้ยงดู และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจุบันมีลูกโลมาหลายตัวที่เติบโตขึ้นและสามารถแสดงโชว์ เป็นดาราเอกของโอเอซีส ซีเวิลด์ เช่น สิงห์สมุทรและพุดซ้อนในชุดสกีโลมา, น้องเอ กับการกระโดดลอดห่วงกว่า 5 ห่วง
ปัจจุบัน โอเอซีส ซีเวิลด์ เปิดการแสดงโชว์ทุกวัน ซึ่งโลมาสามารถแสดงกิจกรรมเด่นๆในการโชว์กว่า 30 รายการ นอกจากนี้ ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสกับโลมาอย่างใกล้ชิด โดยการเล่นน้ำกับโลมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้มาเยือนซึ่งเป็นคนไทย และชาวต่างชาติเป็นอย่างมากและบริษัทฯ ยังคงดำเนินการและพัฒนาต่อไป เพื่อให้โอเอซีส ซีเวิลด์ เป็นโลกของโลมา นำชื่อเสียงสู่คนไทย ด้วยความภาคภูมิใจใน "การฝึกโลมาพันธุ์ไทย โดยคนไทย รูปแบบไทย"






นอกจากนี้ โอเอซีส ซีเวิลด์ ได้ขยายโครงการในการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยการเปิดเพื่อเป็นแหล่งความรู้ของเยาวชนโดยผ่าน Dolphin Camp ทั้งการเข้าค่ายลูกเสือ การลงฐานผจญภัย และการเข้าค่ายแก่นักท่องเที่ยวที่สนใจหรือการจัดสถานที่สำหรับประชุม รวมถึงการให้บริการแบบครบวงจรทั้งที่พัก และร้านอาหารท่องนทีต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : บริษัทโอเอซีส ซีเวิลด์ จำกัด 48/2 หมู่ 5 ต.ปากน้ำ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 22130โทรศัพท์ (039) 399-015, 363-238-9 โทรสาร (039) 399-015



คุณรู้หรือไม่ โลมาไม่ใช่ปลา
โลมามีหัวใจ 4 ห้อง ปลามีหัวใจ 2 ห้อง
โลมาหายใจด้วยปอด ปลาส่วนใหญ่หายใจด้วยเหงือก
โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่น ปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น
โลมาคลอดลูกออกมาเป็นตัว ปลาออกลูกเป็นไข่
โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปลาตัวอ่อนจะกินไข่แดงจากไข่เป็นอาหาร
โลมาไม่มีเกร็ดไม่มีเมือก ปลาส่วนใหญ่มีเกร็ดและมีเมือก
โลมาหางจะโบกขึ้นโบกลงในการว่าย ปลาหางจะโบกซ้ายและขวา



โลมาพันธุ์ปากขวด (Indo - pacific humpback dolphin)เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปากยาวลักษณะคล้ายคอขวดหรือปากขวด มีกระโดงที่ส่วนหลังแหลมกว่าหัวบาตร เมื่ออายุน้อยจะมีสีเทาที่ส่วนหลัง ส่วนท้อง มีสีชมพู พออายุมากขึ้น ส่วนหลังที่เป็นสีเทาก็จะเริ่มกลายเป็นสีชมพูทั้งตัว จนกระทั่งเป็น Pink dolphin (โลมาสีชมพู ) โลมาสายพันธุ์นี้จะมีนิสัยน่ารัก ฉลาด แสนรู้ ซุกซน น่าเกรงขาม






โลมาพันธุ์หัวบาตร (Irrawaddy dolphin)เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ศีรษะกลมๆ ปากสั้นคล้ายลูกวาฬ กระโดงหลังกลมมน ลำตัวมีสีเทา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ สายพันธุ์นี้จะมีนิสัยนุ่มนวล น่ารัก ฉลาด ซุกซน แสนรู้ เหมือนกับเด็กๆ ใบหน้าเหมือนจะยิ้มตลอดเวลาเมื่อโผล่เหนือน้ำโลมาทั้งสองสายพันธุ์มีหัวใจ 4 ห้อง หายใจด้วยปอด ระยะเวลาในการตั้งท้อง 9 –12 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พอๆ กับมนุษย์ โดยสามารถสื่อสารกันได้ด้วยสัญญาณเสียงในคลื่นความถี่สูง





โลมานอนอย่างไร

การนอนของโลมา ไม่มีระยะเวลาในการนอนที่ยาวนานเหมือนกับสัตว์โดยทั่วไปเป็นเพียงแต่การพักผ่อนกล้ามเนื้อในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อโลมานอนหลับจะใช้สมองในบางส่วนเพื่อพักผ่อนและอีกส่วนหนึ่งจะใช้ในกระบวนการหายใจให้เป็นปกติ


ลักษณะการนอนของโลมา


- คู้ตัว โดยเอาศีรษะและส่วนหางจมอยู่ในน้ำ ส่วนหลังลอยตัวอยู่บนผิวน้ำประมาณ 1 นาที การว่ายน้ำไปในกลุ่มอย่างเงียบๆ โดยอาศัยช่วงระยะเวลาที่ไม่มีภัยคุกคาม เป็นการพัก ผ่อนกล้ามเนื้อไปในตัว

- การกบดานใต้พื้นน้ำ เป็นการพักผ่อนในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งมีทั้งการหลับตาทั้งสองข้าง หรือลืมข้างใดข้างหนึ่ง


การใช้สัญญาณเสียง

การใช้สัญญาณเสียง คือ การปล่อยสัญญาณเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง ซึ่งถูกส่งจากบริเวณ Melon gland บนส่วนหัว


โลมาโชว์หนึ่งเดียวที่พลาดไม่ได้